เงินปันผล คืออะไร แบบเข้าใจง่ายๆ

เงินปันผล คืออะไร แบบเข้าใจง่ายๆ ความหมายของเงินปันผล (Dividend) มันก็ค่อนข้างจะชัดเจนกันอยู่แล้ว ว่าเป็นเงินที่ปันออกมาเป็นสัดส่วนต่าง ๆ เข้าเรื่องแบบวิชาการสักหน่อย จะหมายถึง ผลกำไรที่บริษัททำได้และถูกส่งต่อมายังผู้ถือหุ้น ซึ่งอาจจะจ่ายมาในรูปแบบของเงินสด หุ้นสามัญ ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่ามีอัตราการจ่ายเงินปันผลแบบไหน มันอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่นโยบายแต่ละที่ ซึ่งในทางบริษัทเองก็มีสิทธิ์ที่จะไม่จ่ายก็ได้เหมือนต่อให้มีกำไรก็ตาม

อาจมีปัจจัยบางอย่างที่เป็นสาเหตุทำให้บริษัทไม่จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น อย่างบริษัทกำลังอยู่ในช่วงเติบโตบางที่ก็จ่ายแต่น้อยหรือจ่ายบ้าง ไม่จ่ายบ้าง ไปจนถึงไม่จ่ายเลยก็มีเพราะว่าบริษัทจะต้องเอาเงินนั้นไปลงทุน หากเอามาจ่ายหมดจะทำให้เงินสดในบริษัทลดลง การทำแบบนี้ก็ไม่ได้เสียหายอะไรมันก็หมายถึงหุ้นบริษัทเองก็กำลังเติบโตเช่นกัน

เพื่อให้มองภาพชัดเจนขึ้นในคำอธิบายข้างต้นก็ลองหาข้อมูลบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แต่ว่ามีกำไรต่อเนื่องตลอด แต่ว่าดันไม่เคยจ่ายเงินปันผลเลย รวมถึงบริษัทที่จ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง ซึ่งหลายที่ก็เติบโตอย่างดีมาก ๆ แทบจะก้าวกระโดดเลย แต่มันก็ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยโดยเฉพาะการบริหาร นโยบาย ฉะนั้นแล้วใครที่ลงทุนกับบริษัทอะไรจะต้องมีความรู้ที่มากพอมิเช่นนั้นโอกาสที่จะไม่ได้ทั้งเงินปันผลแถมยังขาดทุนก็มาพร้อมกันได้เหมือนกัน

ทำไมต้องมีการจ่ายเงินปันผล ?
มีหลายประเภทเหมือนกัน แต่ไม่ว่าจะแบบไหนก็ปันผลออกมาอยู่ดี การจ่ายปันผลแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง มีทั้งหมด 5 อย่าง ซึ่งก็จะแยกออกชัดเจนว่าหมายถึงแบบไหนบ้างดังด้านล่างนี้

1. เงินสดปันผล

เป็นเงินสดปันผลจะจ่ายจากกำไรสะสม ซึ่งบริษัทจะจ่ายปันผลไหมก็อยู่ที่เงินสดที่เป็นกำไรที่ถืออยู่ ณ ปัจจุบันว่าเพียงพอไหม การจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นนั้นก็ต้องทำหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดของบริษัทแล้ว ซึ่งพอจ่ายปันผลเงินสดก็ลดลงตาม กำไรสะสมก็ลดเช่นกัน

2. หุ้นปันผล

สำหรับนักลงทุนในหุ้นนั้นจะรู้จักดีคำว่าหุ้นปันผลคืออะไร ซึ่งจะเป็นหุ้นหรือบริษัทที่จะมีการจ่ายปันผลให้กับสมาชิกผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนนั่นเอง ซึ่งก็จะมีทั้งจ่ายตลอด จ่ายบ้าง และไม่จ่ายเลยก็มีเหมือนกัน มีหลายคนที่เวลาลงทุนจะชอบหุ้นปันผลมากกว่าตัวอื่น เพราะว่ามีจ่ายปันผลตลอดไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทด้วยเหมือนกัน

3. การแยกหุ้น

เป็นการจ่ายแบบปันผล ซึ่งแบบนี้จะทำให้จำนวนหุ้นสามัญที่ถืออยู่นั้นมีจำนวนมากขึ้น อย่างเช่น แยกหุ้นจาก 1 เป็น 10 ก็คือ ผู้ถือหุ้นจะได้หุ้นเพิ่มมา 9 หุ้นนั่นเอง ก็จะเป็น 9 ต่อ 1 หุ้นที่เพิ่งขึ้น เช่นถ้าถืออยู่ 2 หุ้นก็จะมีหุ้นทั้งหมด 20 หุ้น ประมาณนั้น ซึ่งการทำแบบนี้ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่วนของเจ้าของในงบดุล กำไรสะสม มูลค่าหุ้น ก็ยังเหมือนเดิม แค่จำนวนหุ้นจะเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง พอบริษัทมีกำไรเยอะก็จะมีการจ่ายเงินปันผลให้เยอะตามไปด้วย

4. การซื้อหุ้นกลับคืน

หุ้นสามัญที่ทางบริษัทได้ขายออกไปแล้ว ทำให้หุ้นสามัญลดลงก็จะมีการซื้อหุ้นกลับคืนมา โดยจะเอาเงินกำไรสะสมที่เก็บไว้หรือเงินที่ได้จากการก่อหนี้ และการซื้อหุ้นคืนนี้ก็ไม่ได้กระทบอะไรต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทเลย แล้วยังทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มด้วย พอกำไรเพิ่มก็ทำให้ราคาตลาดสูงขึ้น แต่ว่าแบบนี้การจ่ายเงินปันผลจะลดลง แต่ว่านักลงทุนเองก็ทำกำไรได้จากการขายหุ้นเหมือนกันหากต้องการกำไร

5. การรวมหุ้น

สำหรับข้อนี้นั้นจะทำให้จำนวนหุ้นสามัญลดลงและเพิ่มมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ซึ่งการลดจำนวนหุ้นก็ต้องรวมหุ้น มักจะเกิดขึ้นตอนที่ราคาตลาดนั้นต่ำมาก ๆ ธุรกิจเลยต้องทำแบบนี้ แน่นอนว่าผู้ถือหุ้นทุกคนก็จะเห็นว่าหุ้นในมือที่ถืออยู่นั้นลดลง ซึ่งก็อาจจะส่งผลให้ราคาตลาดของหุ้นสูงขึ้นได้ด้วย